วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

นางสาววิภาดา  เชื้อฉลาด 
เลขที่  32   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4/2


จัดทำผลงานชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่เข้ามาสนใจบล็อกได้มีความรู้กับคำสุภาษิตที่ีใช้ในชีวิตประจำวัน  
วันล่ะนิด  วันล่ะคำ  เพื่อจะได้นำคำที่ใช้นี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทำนาบนหลังคน



สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการหาประโยชน์จากผู้อื่นโดยใช้วิธีเบียดเบียนและขาดความมีมนุษยธรรม

ที่มาของสํานวน ในสมัยโบราณอาชีพการทำนาเป็นอาชีพหลัก จึงมักใช้นำมาเป็นตัวอย่างเรื่องการทำมาหากิน โดยท่าทางของชาวนาเวลาเกี่ยวข้าว จึงถูกนำมาเปรียบเปรียกับการหาประโยชน์


อ้างอิงจาก :
http://www.suphasitthai.com/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99

จับปลาสองมือ


สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการที่คนๆหนึ่งทำสิ่งใดที่ยากพร้อมๆกันทำให้ล้มเหลวทั้งสองสิ่งนั้น สำนวนนี้นิยมใช้กับ ผู้ชายที่เกี้ยวผู้หญิงสองคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งผลสุดท้ายแล้วผู้ชายคนนั้นจะมีปัญหาตามมา

ที่มาของสํานวน เปรียบได้กับการใช้มือจับปลาตัวเดียวให้มั่นดีกว่าจับด้วยมือเดียวหรือข้างละตัว ซึ่งอาจจะไม่มั่นพอ ทำให้ปลาทั้งสองตัวหลุดตกน้ำไปหมด


อ้างอิงจาก  :  http://www.suphasitthai.com/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD

มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ


สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งไม่ยอมช่วยงานส่วนรวม แต่ยังทำตัวเกะกะการดำเนินงานของส่วนรวมมีความลำบากมากขึ้นไปอีก

ที่มาของสํานวน คำว่า “รา” ในที่นี้ แปลว่า ทำให้น้อยลง อ่อนลง หมดไปอย่างช้าๆ “มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ” เปรียบเปรยถึงผู้ที่ลงเรือลำเดียวกับคนอื่นแล้วไม่ยอมช่วยพายเรือ แต่ยังเอาขาจุ่มลงไปในน้ำ ยิ่งจะทำให้คนพายอื่นๆต้องใช้ลำบากมากยิ่งขึ้น


อ้างอิงจาก : http://www.suphasitthai.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3

สีซอให้ควายฟัง

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการพูดสอนให้ผู้ที่มีความรู้น้อยได้ฟัง แต่ผู้ฟังไม่ใส่ใจที่จะฟัง หรือฟังแต่ก็ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ ทำให้ผู้ที่สั่งสอนให้ความรู้นั้นเสียเวลาเปล่า

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการสีซอให้ควายฟัง ไม่ว่าจะสีซอให้ไพเราะซักเท่าใด ควายก็ไม่อาจจะรับรู้ถึงความไพเรานั้นได้



อ้างอิงจาก :
http://www.suphasitthai.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87



สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงผู้ที่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก แต่จริงแล้วมีความรู้ในกรอบแคบๆ มีประสบการณ์น้อยเพราะไม่ได้ออกไปเจอกับโลกทัศน์ภายนอก

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงกบที่อยู่ในกะลา ก็จะมีความเชี่ยวชาญอยู่ในพื้นที่เล็กๆในกะลาของตน แต่หากออกไปจากกะลาก็จะอยู่ลำบากในโลกกว้าง




อ้างอิงจาก : http://www.suphasitthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2



หมายถึง : ที่คั่งค้างพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ มีงานไม่ยอมทำ

กลับพอกพูนไว้ไม่ยอมทำสะสางให้เสร็จ

จนเป็นปัญหาในภายหลัง



อ้างอิงจาก  : http://word108.blogspot.com/search/label/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9